“ปวดหลังช่วงล่าง” 11 คนกลุ่มเสี่ยง… คุณเป็น 1 ในนั้นหรือเปล่า?

0

“ปวดหลังช่วงล่าง” (Low back pain) เป็นอาการที่พบบ่อยมากอาการหนึ่ง ทั้งนี้ร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่จะเคยมีอาการนี้มาแล้ว!

เมื่ออาการปวดหลังช่วงล่างเกิดอย่างเฉียบพลัน ซึ่งมักจะหายได้เองหรือรักษาหายได้ เรียกว่า “ปวดหลังช่วงล่างเฉียบพลัน” แต่ถ้าอาการปวดหลังช่วงล่างค่อยเป็นค่อยไป และถึงแม้รักษาก็ยังมีอาการอยู่นานเกิน 3 เดือนขึ้นไป เรียกว่า “ปวดหลังช่วงล่างเรื้อรัง”

Low back pain

หลังช่วงล่าง (Low back) คือ ตำแหน่งด้านหลังช่วงจากปลายกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายลงมาจนถึงตำแหน่งกระดูกใต้กระเบนเหน็บประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่สำคัญ และเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการเจ็บปวด คือ กล้าม เนื้อ เอ็น กระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง และประสาท

โดยอาการปวดหลังช่วงล่าง เกิดได้จากหลายกลไก ทั้งจากการเสื่อม และโรคของกล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก และหมอนรองกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดปุ่มกระดูกงอกเล็กๆ ซึ่งเป็นกลไกที่ร่างกายใช้ซ่อมแซมเนื้อเยื่อกระดูกสันหลังที่เสื่อมถอย ส่งผลให้เกิดการเบียดกดประสาทไขสันหลัง นำไปสู่อาการปวด เจ็บ ชา กล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง รวมทั้งส่งผลถึงการทำงานของกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ และของทวารหนัก

ผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลังช่วงล่าง ได้แก่…

  1. ผู้มีอายุ30 ปีขึ้นไป
  2. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
  3. ผู้มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ขาดการออกกำลังกาย
  4. ผู้มีน้ำหนักตัวเกิน
  5. ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน/ กระดูกบาง
  6. ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม
  7. ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ระยะที่ 4
  8. ผู้มีอาชีพใช้หลังมากหรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้หลัง
  9. ผู้ปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ จะส่งผลถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหลัง ก่ออาการปวดหลังช่วงล่างเรื้อรัง
  10. อาจเกิดจากพันธุกรรม
  11. สตรีมีครรภ์ เพราะน้ำหนักจากครรภ์จะกดทับกระดูกสันหลัง

อาการที่พบได้จากปวดหลังช่วงล่าง ได้แก่ ปวดหลังบนกระดูกสันหลังช่วงล่าง และ/หรือ ปวดทั้งแผ่นหลัง, อาจปวดร้าวลงขาด้านใดด้านหนึ่ง, เคลื่อนไหวหลังไม่ได้เพราะเจ็บหรือปวด ก้มตัวไม่ได้ เพราะเจ็บ รวมถึงยืนตรงไม่ได้เพราะเจ็บหรือปวดหลังโดยทั่วไป

เมื่อปวดหลังเฉียบพลันจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ไม่ใช่จากอุบัติเหตุ อาการมักดีขึ้นภายใน 3-4 วันหลังการดูแลตนเอง และลดการใช้หลัง แต่อาการปวดเรื้อรัง มักรักษาไม่หาย และมักมีอาการรุนแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้เพียงการรักษาประคับประคองตามอาการฉะนั้นหากมีอาการปวดหลังช่วงล่างอย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *