เสียงจากข้อมือบอกโรคได้เหมือนกัน!

0

เคยได้ยินเสียงข้อเวลาทำกิจกรรมต่างๆ กันมั้ย? เช่น เสียงขณะหักข้อนิ้วและข้อมือ เสียงจากเข่าขณะกำลังลุกเดินหรือยืดขา เสียงจากข้อเท้าเวลาขยับข้อเท้า เสียงจากกระดูกต้นคอเวลาหมุนคอ เป็นต้น

หลายคนสงสัยว่า เสียงเหล่านี้เกิดจากอะไรมีอันตรายหรือไม่?

ในบทความนี้มาดามจึงขอนำเรื่องราวดีๆ จากชีวจิตซึ่งน่าจะเป็นคำตอบมาฝากกันค่ะ

ประเภทของข้อต่อที่เกิดเสียงได้ง่ายคือ ไดอาร์โทรไดอัลจอยด์ ซึ่งพบมากที่สุดในร่างกาย ข้อต่อประเภทนี้ประกอบไปด้วยกระดูกสองชิ้นมาบรรจบกันตรงผิวกระดูกอ่อน โดยมีปลอกหุ้มข้อต่อ ห่อหุ้มผิวกระดูกอ่อนอยู่ ภายในปลอกหุ้มข้อต่อจะมีของเหลวที่ใช้หล่อลื่นข้อต่อเรียกว่า น้ำไขข้อ ซึ่งมีก๊าซ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ สำหรับข้อต่อที่หักแล้วเกิดเสียงได้ง่ายที่สุดก็คือ ข้อนิ้วมือของเรานั่นเอง

เสียงก๊อบแก๊บ กรอบแกรบ… เสียงจากข้อนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งในกระดูกคอ เข่า นิ้ว หลังและข้อเท้า มีสาเหตุมากมาย แบบนี้ค่ะ

wrist

  • เกิดจากก๊าซในน้ำไขข้อกลายเป็นฟอง เนื่องจากเมื่อหักข้อนิ้วมือ ปลอกหุ้มข้อต่อจะถูกยืดขยายออก ทำให้แรงดันในข้อลดลง ก๊าซที่ละลายอยู่ในน้ำไขข้อจะผุดเป็นฟอง แล้วรวมตัวกันเป็นฟองก๊าซขนาดใหญ่ และเมื่อยืดข้อต่อออกไปอีก น้ำไข้ข้อจะไหลกลับเข้าสู่ข้ออีกครั้ง ทำให้ฟองก๊าซขนาดใหญ่เหล่านั้นยุบลงเป็นฟองขนาดเล็กอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเสียงดังภายในข้อนั่นเองและเสียงจากการหักข้อนิ้วจะเกิดขึ้นอีกครั้งต่อเมื่อฟองก๊าซได้ละลายอยู่ในน้ำไขข้อแล้ว ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที
  • เกิดจากการเคลื่อนไหวของข้อ กระดูกอ่อน และเอ็นรอบๆ ข้อ ซึ่งทำให้เกิดเสียงได้ มักจะเป็นบริเวณข้อเข่าและข้อเท้า
  • ข้อเสื่อม ทำให้พื้นที่ผิวข้อขรุขระ เมื่อมีการเสียดสีกันจะทำห้เกิดเสียงกรอบแกรบได้

นอกจากนี้ยังมีเสียงหรือความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเวลาขยับข้อขนาดใหญ่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า เครพิทูส เราสามารถสังเกตอาการนี้ได้โดยวางฝ่ามือไว้ที่ข้อ แล้วขยับข้อนั้นไปมา สังเกตความรู้สึกบริเวณฝ่ามือ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  • แบบละเอียด เป็นความรู้สึกคล้ายการใช้นิ้วมือขยี้เส้นผม เกิดจากการบดขยี้ของเยื่อบุผิวที่หนาตัวขึ้นจากการอักเสบเรื้อรัง พบได้ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์และวัณโรคข้อ
  • แบบหยาบ คล้ายมีเสียงกุกกักหรืออาได้ยินเสียงลั้นในข้อขณะตรวจ เกิดจากการเสียดสีของผิวกระดูกอ่อนที่ขรุขระหรือมีเศษกระดูกอ่อนชิ้นเล็กๆ หลุดและแขวนลอยอยู่ภายในข้อ พบบ่อยในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมหรือโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ระยะท้ายๆ ที่ผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายอย่างรุนแรงในคนปกติอาจตรวจพบได้ไม่บ่อยนัก เกิดจากเส้นเอ็นรอบๆ ข้อพลิก ระหว่างเหยียดหรืองอข้อต่อ

เสียงในข้อส่ออันตราย!!

เสียงก๊อบแก๊บ กรอบแกรบ มีอันตรายหรือไม่ มีวิธีสังเกตง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

  1. สังเกตว่ามีอาการเจ็บหรือปวดหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้งานข้อ เช่น การเดินลงน้ำหนัก งอหรือเหยียดข้อ หากมีอาการเจ็บปวดอาจเกิดจากข้อเสื่อมหรือเอ็นอักเสบ ควรไปพบแพทย์
  2. สังเกตข้อที่มีเสียงนั้นว่ามีการบวมรอบๆ ข้อหรือไม่ หากมีอาการบวมและแดง ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจจะเป็นโรคข้ออักเสบได้
  3. สังเกตว่ามีการผิดรูปของข้อหรือไม่ เช่น ข้อโตขึ้น ข้อโกงขึ้น มีก้อนหรือกระดูกแข็งยื่นออกมา ก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน

เรามาเริ่มดูแลข้อโดยการสังเกตและฟังเสียงจากข้อของเรากันเถอะค่ะ

 

ที่มา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *