เด็กๆ ในวัยซนจะเริ่มมีความคิด ความรู้สึก และจินตนาการของตัวเอง บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ต้องชั่งใจเวลาที่ลูกพูดเล่าสิ่งต่างๆ บ้าง อย่าเข้าข้างลูกหรือปักใจเชื่อสิ่งที่ลูกเล่าทั้งหมด หากคุณพ่อคุณแม่เชื่อทุกอย่างที่ลูกพูด หากเป็นเรื่องราวตามจินตนาทั่วไปก็คงไม่มีปัญหาอะไรนัก แต่หากโกหกไปซะทุกเรื่องจนเป็นนิสัยประจำ ลูกจะกลายเป็นเด็กขึ้โกหกที่เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อไปในอนาคตค่ะ
ทำไมเด็กจึงโกหก??
- จินตนาการแบบเด็กๆในเด็กเล็กๆ จินตนาการ และความเพ้อฝันย่อมเป็นวัตถุดิบสำคัญในการเรียนรู้ แต่บางครั้งการจินตนาการที่เกินความเป็นจริงไป (มาก) อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกพูดโกหก เช่น โกหกว่าถูกครูจับมัดมือมัดเท้าไม่ให้กินข้าว เพราะเคยเห็นฉากแบบนี้ในละคร
- กลัวการถูกลงโทษบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็ดุซะจนลูกไม่กล้าผิดพลาด เพราะจากประสบการณ์ลูกรู้แน่ว่าต้องโดนแน่ จึงปกป้องตัวเองด้วยการโกหก
- ต้องการเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างการโกหกอาจไม่ใช่เรื่องน่าภูมิอกภูมิใจ แต่บางครั้งคำพูด และเรื่องราวที่พูดเกินความเป็นจริงอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ให้ความสนใจลูกมากกว่าในทุกๆ วัน ทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่น่าสนใจ จนเกิดความภูมิใจแบบหัวใจพองโต ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการโกหกคำโต (โดยที่ยังไม่ถูกจับโกหกได้) นี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมแบบเด็กเลี้ยงแกะ
- เลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่หากคุณพ่อคุณแม่โกหกต่อหน้าลูก เด็กๆ อาจมองว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ เพราะถึงคุณพ่อคุณแม่พูดโกหก ลูกก็สามารถทำได้เหมือนกัน
แก้นิสัยโกหกได้อย่างไร??
- หาสาเหตุของการโกหก และหลีกเลี่ยงการลงโทษ เช่น หากลูกโกหก เพราะกลัวการลงโทษ คุณก็ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษ แล้วหันมาใช้เหตุผลชี้ให้เห็นถึงผลของการกระทำ อาจจใช้นิทานสอดแทรกเป็นการสอนลูกโดยอ้อมได้ค่ะ เช่น นิทานเรื่อง เด็กเลี้ยงแกะเป็นต้น
- ถามลูกตรงๆ หาเหตุผลจากลูกว่า อธิบายสาเหตุที่โกหก จากนั้นอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นถึงสิ่งที่ลูกควรทำ ไม่ควรทำด้วยเหตุและผล
- คุณพ่อคุณแม่โกหกต้องไม่โกหกต่อหน้าลูกหรือโกหกลูกเช่น พูดโกหกคนอื่นต่อหน้าลูก หรือ บอกลูกว่าติดงานไม่ว่างพาลูกไปเที่ยวไม่ได้ แล้วกลับไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ
- ชื่นชมเวลาลูกพูดอะไรอย่างซื่อสัตย์ ลูกจะเกิดความภาคภูมิใจ รุ้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่รักเมื่อลูกพูดความจริง ลูกจะกล้าที่พูดกับคุณอย่างตรงไปตรงมาค่ะ