“Superfood” (ซุปเปอร์ฟู้ด)
เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นจากเว็บไซต์สุขภาพ ในนิตยสารต่างๆ หรือแม้แต่รายการโทรทัศน์ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพก็เช่นเดียวกัน แต่ในทางวิทยาศาสตร์แล้วนั้น คำว่า “Superfood” (ซุปเปอร์ฟู้ด) ไม่ได้มีบทบาทอย่างเป็นทางการ แต่เป็นเพียงคำที่ถูกใช้เพื่อการตลาดเท่านั้น
อย่างไรก็ดี นั่นไม่ได้หมายความว่าซุปเปอร์ฟู้ดเป็นเรื่องหลอกลวง แต่เพื่อให้มีนิยามที่ถูกต้องสำหรับการเรียกชื่อกลุ่มอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการเป็น “สารต้านอนุมูลอิสระ” ซึ่งความสำคัญของสารนี้นั้นจะช่วยในเรื่องต่อไปนี้
- ชะลอกระบวนความแก่
- ขับสารพิษที่ก่อมะเร็ง
- ให้โพลีฟีนอลซึ่งเป็นสารต้านมะเร็ง ลดระดับคอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
- สารต้านอนุมูลอิสรช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตจากเนื้องอก
- ไม่เป็นอัลไซเมอร์
- ช่วยป้องกันโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม รวมไปถึงบำรุงกล้ามเนื้อตา
- ป้องกันโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
จะเห็นว่าคุณประโยชน์ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้นแทบจะเรียกได้ว่าครอบคลุมทุกความต้องการเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในเรื่องความงามผิวพรรณ การควบคุมน้ำหนัก รวมไปถึงลดโรคและช่วยให้สุขภาพดีขึ้น
เกริ่นกันมายาวขนาดนี้ สดสวยขอแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกับ “Superfood” (ซุปเปอร์ฟู้ด) ที่เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ หาทานได้ง่ายๆ รับรองเลยว่าเดินไปซุปเปอร์มาเก็ตที่บ้าน ยังไงก็มีให้เลือกซื้อมารับประทานกันอย่างแน่นอน!
มะเขือเทศ
ข้อมูลจากจุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่ 17 ฉบับที่ 3 สำนักงานข้อมูลสมุนไพร : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาระบุว่า มะเขือเทศและสารสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะสารไลโคพีน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ ต้านการอักเสบ ช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเลือด และมีฤทธิ์ต้านมะเร็งหลายชนิด
กล้วย
ในงานการศึกษาเปรียบเทียบกจิกรรมการต้านอนุมูลอสิระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม และคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของแป้งกล้วย โดย คุณกุหลาบ สิทธิสวนจิกและคุณขวัญชัย ศรีรักษา วิทยาศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พบว่า
กล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทยอุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด และหนึ่งในนั้นคือ “คุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ”
น้ำมันมะกอก
ในบทความ น้ำมันมะกอก เคล็ดลับต้านความชรา โดย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ กล่าวว่า
สารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันมะกอก ช่วยในการปกป้องหนังกำพร้า ทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ช่วยการป้องกันโรคผิวหนัง และลดริ้วรอยเหี่ยวย่น
ผักโขม
ในงานการศึกษา ปริมาณสารโพลีฟีนอลและประสิทธิภาพการเป็นสารต้านอนุมูลอสิระในสารสกัดผักโขม โดย คุณชนาธิป ชูศรี คุณบวร บุญพรและคุณโสภา กลิ่นจันทร์ เพื่องานประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52 นั้น ค้นพบว่า
ผักโขมขาวสดสกัดแบบร้อนนมีคุณสมบัติในการเป็ นสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด ในการศึกษาผักโขม 5 ชนิด ผักโขมแดง ผักโขมแก้ว ผักโขมจีน ผักโขมขาว และผักโขมไทย โดยสารต้านอนุมูลอิสระมีความสำคัญในแง่ปกป้องร่างกายของเราไม่ให้แก่เร็ว ช่วยป้องกันโรคเสื่อมต่างๆ
บรอคโคลี่
ในบทความ สารต้านอนุมูลอิสระ โดย ศ.นพ.ปิติ พลังวชิรา กล่าวไว้ว่า “บรอคโคลี่” เป็นหนึ่งในแหล่งที่มาของสารต้านอนุมูลอิสระ โดยช่วยชะลอความชราได้
กระเทียม
จากบทคัดย่อในงานการศึกษาเรื่อง กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ โดยคุณจันเพ็ญ บางสำรวจ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พบว่า
S-allylcysteine (SAC) และ S-allylmercaptocysteine (SAMC) เป็นสารเคมีหลักที่พบในกระเทียม มีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระช่วย ป้องกันไม่ให้ผนังของหลอดเลือดชั้นในถูกทำลายซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง กระเทียมจึงมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันผลเสียจากอนุมูลอิสระและป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง
ถั่วดำ
เป็นถั่วที่มีสารต้านอนุมูลอิสระทั้งยังเป็นแหล่งโปรตีน มีเส้นใยอาหาร และแร่ธาตุต่าง ๆ นอกจากนี้ การศึกษาในหัวข้อ ผลต้านออกซิเดชัน ต้านการก่อกลายพันธุ์และต้านความเป็นพิษต่อหน่วยพันธุกรรมของสารสกัดด้วยอะซีโตนและเมทานอลจากถั่วบางชนิด โดย คุณกัลยารัตน์ เครือวัลย์ สาขาวิชา เภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ พบว่า สารสกัดเมล็ดถั่วดำแสดงฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูลอิสระ ด้วยเช่นเดียวกัน
ทับทิม
ในบทความเรื่อง “ทับทิม” ที่เผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยมหิดลผ่านเว็บไซต์ Medplant.mahidol.ac.th กล่าวไว้ว่า
น้ำทับทิมมีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือดของผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง ลดระดับการเกิดออกซิเดชันของไขมัน และช่วยเพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด สารสกัดจากดอกและเปลือกทับทิม และ Ellagic Acid ช่วยลดคอเลสเตอรอล, LDL, VLDL, ไตรกลีเซอไรด์ และช่วยเพิ่ม HDL
ขิง
จากงานการศึกษาเรื่อง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด และปริมาณเคอร์คูมินอยด์รวมในพืชสกุลขิงที่พบในประเทศไทย โดยคุณิภาดา กันทยศและคุณยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า
สารสกัดของ Z. officinale จากขิง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยยับยั้งอนุมูล DPPH และอนุมูล ABTS ซึ่งเป็นชื่อของอนุมูลอิสระนั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือ ซุปเปอร์ฟู้ด ที่ควรให้เป็นส่วนประกอบอยู่ในอาหารทุกๆ มื้อ แต่ถ้าการเตรียมและตรวจสอบอาหารว่ามี 1 ในซุปเปอร์ฟู้ดอยู่ในเมนูที่จะทานตลอดเวลาหรือไม่นั้น อาจเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกเท่าไหร่ ทั้งปริมาณก็อาจไม่มากพอที่จะช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้น สดสวยแนะนำว่าให้เลือกทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแทน
Astaxanthin (แอสตาแซนธิน) สารสกัดสาหร่ายสีแดง จากสแกนดิเนเวีย
อีกทั้งยังมั่นใจได้ด้วยว่าในแอสตาแซนธินขนาด นั้นยังให้สารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเหล่าซุปเปอร์ฟู้ด จากการเปรียบเทียบค่า ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity)
โดยในส่วนของค่า ORAC นั้นก็คือ ค่าที่ได้จากการวัดความสามารถของสารใดๆ ก็ตามที่จะทำให้อนุมูลอิสระที่เกิดจากออกซิเจนกลายเป็นกลางโดยปริมาณค่า ORAC ที่สูงกว่านั้นแสดงว่า สารตัวนั้นมีผลต่อต้านอนุมูลอิสระได้มากกว่าหรือมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่านั่นเอง และจากรูปก็จะเห็นว่า แอสตาแซนธินนั้นมีค่าที่สูงที่สุด!
มีงานวิจัยทางการแพทย์พิสูจน์มาแล้วว่า การรับประทานแอสตาแซนธินขนาด 4 มก. ต่อเนื่องกัน 6 สัปดาห์ในหญิงวัยกลางคน พบว่า
กลุ่มที่รับประทานแอสตาแซนธิน ผิวมีความเรียบเนียนขึ้น ริ้วรอยลดลง ความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นดีขึ้น “ซึ่งอาจเป็นผลจาก แอสตาแซนธินที่สามารถปกป้องคอลลาเจนไม่ให้ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระได้”
ที่สำคัญไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัยเพราะแอสตาแซนธิน Astaxanthin ที่ได้จากสาหร่ายแดงที่มีการเพาะเลี้ยงในระบบปิด ภายใต้การควบคุมเพื่อให้ได้ แอสตาแซนธินที่มีคุณภาพสูงและมีการทดลองพบว่า ผู้ที่รับประทานแอสตาแซนธินขนาด 45 มก. ทุกวัน ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ก็ไม่พบผลข้างเคียงใดๆ
ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ง่ายและสะดวกสำหรับคนที่ต้องการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ดูแลสุขภาพรวมไปถึงการดูแลผิวพรรณด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อนๆ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.biolife-thailand.com/index.php/astaxanthin/#astaxanthin หรือ https://www.facebook.com/Bio-life-Thailand