อาการใจสั่น เป็นอาการที่เพื่อนๆ จะรู้สึกได้ถึงจังหวะที่เพิ่มขึ้นของหัวใจ ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเต้นแรงขึ้น กระพือขึ้น ซึ่งจะเป็นอาการที่รู้สึกได้บริเวณลำคอหรือว่าหน้าอก นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่า จังหวะการเต้นของหัวใจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างที่ใจสั่น
โดยทั่วไปแล้ว “อาการใจสั่น” นั้นไม่เป็นอันตรายและสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่ในบางกรณี อาการใจสั่นอาจหมายถึงสถานการณ์ที่ร้ายแรง
17 สาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการใจสั่น
- การออกกำลังกายหนัก
- คาเฟอีน
- นิโคตินจากผลิตภัณฑ์ยาสูบ เช่น บุหรี่และซิการ์
- ความตึงเครียด
- ความกังวล
- ความหวาดกลัว
- ดื่มน้ำไม่พอ กระหายน้ำ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนรวมถึงการตั้งครรภ์
- น้ำตาลในเลือดต่ำ
- โรคโลหิตจาง
- ระดับต่ำของออกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
- การสูญเสียเลือด
- เป็นไข้
- ยาบางชนิดที่ต้องสั่งโดยแพทย์
- ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย เช่น ยาบ้าและโคเคน
- โรคหัวใจ
- ลิ้นหัวใจผิดปกติ
อาการใจสั่นส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย แต่สามารถบ่งบอกว่าเพื่อนๆ อาจเป็นโรคได้ หากมีอาการนี้
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- โรคหัวใจ
- ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
- ลิ้นหัวใจผิดปกติ
อาการใจสั่นที่ควรไปพบแพทย์ทันที มีอะไรบ้าง?
ไปพบแพทย์ทันทีหากเพื่อนๆ มีอาการใจสั่นและเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว หรือหากมีอาการใจสั่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น
- เวียนหัว
- อ่อนเพลียมาก
- วิงเวียน
- เป็นลม
- ไม่ได้สติ
- สับสน เบลอ
- หายใจลำบาก
- เหงื่อออกมากเกินไป
- เจ็บหน้าอก
- ปวดแขน, คอ, หน้าอก, กรามหรือหลังส่วนบน
- อัตราการพักชีพจรมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
สำหรับการรักษาอาการใจสั่น หากใจสั่นเนื่องจากพฤติกรรม จากวิถีชีวิต เช่น การสูบบุหรี่หรือบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป การลดหรือกำจัดสารเหล่านั้นอาจเป็นสิ่งที่เพื่อนๆ ต้องทำ ถามแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาหรือการรักษาทางเลือกหากคิดว่าการใช้ยาอาจเป็นสาเหตุด้วยเช่นเดียวกัน